คณะการขับเคลื่อนนโยบาย จุดเน้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

สพป.นครพนม เขต 2 ร่วมต้อนรับคณะกรรมการติดตามและประเมินการขับเคลื่อนนโยบาย จุดเน้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สนองตอบนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ 12 ข้อ  และ Quick win 7 ข้อ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ฉบับลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ฉบับลงวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน “สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน นวัตกรรมขับเคลื่อน” มีองค์ประกอบ 4 ด้าน  คือ ด้านความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และ ด้านประสิทธิภาพ  และ สพฐ. ได้กำหนดจุดเน้นในการดำเนินงาน 9 จุดเน้น ได้แก่

          จุดเน้นที่ 1 เร่งแก้ปัญหากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19โดยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับผู้เรียน        ทุกระดับ รวมทั้งลดความเครียดและสุขภาพจิตของผู้เรียน

          จุดเน้นที่ 2  เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐานความปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform)

          จุดเน้นที่ 3 ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3–6 ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็กการ ที่ค้นพบจากการปักหมุดบ้านเด็กพิการให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

          จุดเน้นที่ 4 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและการจัดทำกรอบหลักสูตร รวมทั้งจัดกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน

          จุดเน้นที่ 5 จัดการอบรมครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน พร้อมกับการส่งเสริมทักษะการสอนแบบออนไลน์อย่างประสิทธิภาพ และการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู

          จุดเน้นที่ 6 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning)  มีการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้รียน(AssessmentforLearning)  ทุกระดับ

          จุดเน้นที่ 7 ยกระดับคุณภาพของนักเรียนประจำพักนอน สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง ห่างไกล                และถิ่นทุรกันดาร 

          จุดเน้นที่ 8 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทุกระดับ

          จุดเน้นที่ 9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐาน

เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล  ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา        

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *